วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุสาวรีย์นาวิกโยธิน สัตหีบ

ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระนางเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน ณ อ่าวนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
อนุสาวรีย์ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2527 ลักษณะของอนุสาวรีย์เป็นรูปหกเหลี่ยม มีความหมายถึงทหารนาวิกโยธิน ผู้เสียสละชีวิตทั้งหกเหล่า คือ เหล่าทหารราบ เหล่าทหารปืนใหญ่ เหล่าทหารช่าง เหล่าทหารสื่อสาร เหล่าทหารขนส่ง และทหาร ลาดตระเวน ซึ่งเปรียบเสมือนทหารเหล่าพิเศษ รอบอนุสาวรีย์ ฯ ได้จารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการรบจนถึงปัจจุบัน สามารถจารึกชื่อได้ 297 นาย อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ใช้เงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านบาทเศษ โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณทางราชการ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดได้จากทหารนาวิกโยธิน และพ่อค้าประชาชนที่มีจิตศรัทธาบริจาคให้ สำหรับงานก่อสร้าง ทหารนาวิกโยธินเป็นผู้ดำเนินการ เองเป็นส่วนใหญ่ เว้นงานที่ต้องใช้ฝีมือ และความสามารถพิเศษเฉพาะเท่านั้น
สำหรับด้านหน้าของอนุสาวรีย์ ฯ ที่เด่นเป็นสง่าอยู่นั้น ได้สลักโน๊ต และเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธินสำหรับโน๊ต เพลงนี้ได้ทรงพระราชทานให้แก่ทหารนาวิกโยธินเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2502 ทหารนาวิกโยธินผู้เสียชีวิต เหล่านี้ได้ยอมเสียสละชีวิต อันหวงแหนของเขาเพื่อให้สมดังเนื้อร้องในเพลงมาร์ชราชนาวิกโยธินตอนหนึ่งซึ่งได้สลักไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้ว่า “…..กาย ใจ ชีวิต มอบเป็นราชพลี……”
โดยลักษณะรูปร่างอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธินจะเป็นรูป 6 เหลี่ยม ยอดอนุสาวรีย์ฯ เป็นธงราชนาวิกโยธิน ปักอยู่บนอุปกรณ์ประจำกายของทหารนาวิกโยธินที่ใช้ในการยกพลขึ้นบกซึ่งแต่ละด้านก็จะมีความหมายซึ่งผู้เขียนขอยกตัวอย่างแค่สามด้านดังนี้
ด้านหน้าเป็นรูปโน๊ตและเนื้อเพลง ราชนาวิกโยธินที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ทหารนาวิกโยธิน เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2502 ที่ทหารนาวิกโยธินถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนฐานเป็นประวัติทหารนาวิกโยธินที่เสียชีวิตในการสู้รบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ด้านที่สอง(ทางขวามือ) เป็นภาพปั้นของทหารนาวิกโยธิน กำลังยกพลขึ้นบกด้วยยานสะเทินน้ำสะเทินบก LVTP-7 ซึ่งทหารนาวิกโยธินถือเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากเหล่าทัพอื่น
ส่วนฐานเป็นรายชื่อผู้เสียชีวิต จารึกไว้บนแผ่นทองเหลืองจำนวนทั้งสิ้น 12 แผ่นๆ ละ 36 นาย
ด้านที่สามทางซ้ายมือเป็นภาพปั้น การปฏิบัติของทหารลาดตระเวน ทำการโดดร่มจากเครื่องบิน พร้อมด้วยแพยาง และอุปกรณ์ในการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อสำรวจหาดและทำลายเครื่องกีดขวางก่อนที่จะทำการยกพลขึ้นบกของกำลังส่วนใหญ่

ส่วนฐานเป็นรายชื่อผู้เสียชีวิต บนแผ่นทองเหลืองจำนวนทั้งสิ้น 12 แผ่นๆ ละ 36 นาย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุสาวรีย์ราชนาวี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุสาวรีย์ราชนาวี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุสาวรีย์ราชนาวี


อ้างอิง https://traveleasterninthailandbypitchayapa.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น