วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

เรือหลวงจักรีนฤเบศร

เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร จอดเทียบท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งและ เฮลิคอปเตอร์ ของราชนาวีไทย. เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีมาในกองทัพเรือไทย. เรือลำนี้ได้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือบาซาน เมืองโรตา ในประเทศสเปน และได้เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๙  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐  ในยามปรกติ เรือจักรีนฤเบศร์จะเป็นฐานปฏิบัติ การคุ้มครอง ประโยชน์ของชาติทางทะเล ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมในทะเลในยามสงคราม เรือจักรีนฤเบศร จะเป็นเรือธง คือ เรือที่ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับบัญชากองเรือในทะเล เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานป้องกันภัยทางอากาศ การต่อสู้ ทางน้ำและปราบเรือดำน้ำของผู้ที่เข้ามารุกรานประเทศ
                เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร  ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "จักรีนฤเบศร์" หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง ราชวงศ์จักรี เป็นเรือที่ต่อในประเทศสเปน เมื่อปี 2537 เรือลำนี้มีทั้งหมด 11 ชั้น มีความยาว 182 เมตร กว้าง 30.5 เมตร เป็นเรือที่ มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีระบบเรด้าห์ตรวจการณ์ระยะไกล ภารกิจที่สำคัญในยามสงคราม ทำหน้าที่เป็นเรือธง ควบคุมและ บังคับบัญชา กองเรือในทะเลทั้งหมด และยังเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศอีกด้วย


ประวัติเรือรบหลวงจักรีนฤเบศร
ในปีพ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพรกองทัพเรือ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและ ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย ทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือ ขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วย ความยาก ลำบากการมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหา และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่าง รวดเร็ว และทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวน และระยะเวลาในการ ปฏิบัติ การในทะเลได้เป็น เวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้ สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมายเดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพล ขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อ ใหม่จากบริษัทบาซานประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส รือธงของ กองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคมพ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ในลักษณะ รัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท
เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธี ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลอง แล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือ และขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบเรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล
กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลัง พลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่าผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรีและใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวาง ประจำการ สังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ




อ้างอิง http://www.paiduaykan.com/province/east/chonburi/chakrinaruebet.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น